วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 4 กลอนสี่


บทที่ 4 กลอนสี่

กลอนสี่

                 กลอนสี่                 
     



กลอนสี่ เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ กลอน 4
ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ
ตัวอย่างกลอน 4 ในวรรณคดีไทยที่พบมี 2 แบบ คือ
กลอน 4 แบบที่ 1
กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O           O O O O
O O O O           O O O O
สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1
เหวยเหวยอีจันทรา     ขึ้นหน้าเถียงผัว
อุบาทว์ชาติชั่ว            ไสหัวมึงไป
นางจันทาเถียงเล่า    พระองค์เจ้าหลงไหล
ไล่ตีเมียไย        พระไม่ปรานี
เมียผิดสิ่งใด     พระไล่โบยตี
หรือเป็นกาลี     เหมือนที่ขับไป
— บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง
กลอน 4 แบบที่ 2
คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O    O O O O
O O O O    O O O O
O O O O    O O O O
O O O O    O O O O
สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 2
จักกรีดจักกราย      จักย้ายจักย่อง
ไม่เมินไม่มอง        ไม่หมองไม่หมาง
งามเนื้องามนิ่ม     งามยิ้มงามย่าง
ดูคิ้วดูคาง                        ดูปรางดูปรุง
ดั่งดาวดั่งเดือน               ดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
พิศเช่นพิศช้อย               พิศสร้อยพิศสุง
ช่างปลอดช่างเปรื่อง    ช่างเรืองช่างรุ่ง
ทรงแดดทรงดุ่ง              ทรงวุ้งทรงแวง
— กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง)
สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค
https://kruanongdotnet.wordpress.com/2012/09/04/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88/

บทที่ 3 กลอนแปด


 บทที่ 3 กลอนแปด




กลอนแปด, ตัวอย่างกลอนแปด

     กลอนแปดแตกต่างจากกลอนแปดสุภาพ คลิกดู เสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
     สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)  
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
    ๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๑.๗ วันครู
          ๒.๑.๑๒ ๕ อ.
          ๒.๑.๑๓ รถติด
          ๒.๑.๑๖ รัก
     ๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
     ๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๓.๔ กลอนพ่อครูไทยในหลวงของปวงชน

     กลอนแปดนับเป็น "ศิลปะภาษาไทย" ผู้เขียน (นายวัลลภ มากมี ตำแหน่งครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เป็นครูผู้ควบคุมและเป็นครูที่ปรึกษาหลักของผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมได้เล็งเห็นว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่แต่งกลอนกันน้อยลง มีความประสงค์ที่จะช่วยอนุรักษ์ศิลปะภาษาไทย จึงได้ประพันธ์เป็นกลอนแปด (ต่อมาภายหลังได้ปรับแก้ไขเสียใหม่ให้เป็นกลอนแปดสุภาพ) ที่อธิบายประกอบผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม ผู้เขียนซึ่งเป็นครูช่างยนต์ได้เคยเรียนการแต่งกลอนแปดในวิชาภาษาไทยมา จึงนำความรู้นั้นมาประยุกต์มาหาแนวทางที่จะทำให้งานทางช่างซึ่งมีลักษณะแข็งกระด้างให้ผสมผสานด้วยความอ่อนนุ่มลงไป เกิดเป็นกลอนแปดกับการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรือกลอนแปดสุภาพกับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม  
     สำหรับการแต่งกลอนแปดนั้นมีวิธีการตามตัวอย่างที่ ๑ โดยมีผังกลอนแปดดังแสดงในภาพด้านล่างนี้ ซึ่งนอกจากกลอนแปดจะต้องมีการสัมผัสนอกแล้วยังควรเพิ่มความไพเราะให้กับบทกลอนด้วยการมีสัมผัสในดังแสดงในตัวอย่างที่ ๒ - ๔ การสัมผัสในกลอนแปดสุภาพของท่านครูสุนทรโวหาร (ภู่) หรือท่านสุนทรภู่ กวีเอกของโลก
     นอกจากนี้แล้วยังมีตัวอย่างกลอนแปดสุภาพของท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ดังแสดงในตัวอย่างที่ ๕ ซึ่งท่านเป็นนักเขียนรางวัลซีไรต์ และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ ซึ่งผู้เขียนได้มีความเคารพนับถือและศรัทธาในผลงาน ความสามารถ และอุดมการณ์ของท่านเป็นอย่างมาก

     ผังกลอนแปด สัมผัสนอกที่เป็นมาตรฐาน (แบบไม่อนุโลมจุดสัมผัส)

ตัวอย่างที่ ๑ การสัมผัสนอก กลอนแปดสุภาพ เช่น
     “กลอนสุภาพ แปดคำ ประจำบ่อน  (วรรคสดับ)
อ่านสามตอน ทุกวรรค ประจักษ์แถลง  (วรรครับ)
ตอนต้นสาม ตอนสอง ลองแสดง  (วรรครอง)
ตอนสามแจ้ง สามคำ ครบจำนวน  (วรรคส่ง)
     ได้กำหนด บทกลอน ตอนสัมผัส  (วรรคสดับ)
ให้ฟาดฟัด ชัดความ ตามกระสวน (วรรครับ)
วางจังหวะ กะทำนอง ต้องกระบวน (วรรครอง) 
จึงจะชวน ฟังเสนาะ เพราะจับใจ" (วรรคส่ง)

ประพันธ์โดยท่านรองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) 

ตัวอย่างที่ ๒ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “ถึงม้วยดิน สิ้นฟ้า หาสมุทร
ไม่สิ้นสุด ความรัก สมัครสมาน
แม้นเกิดใน ใต้หล้า สุธาธาร
ขอพบพาน พิศวาส ไม่คลาดคลา
     แม้เนื้อเย็น เป็นห้วง มหรรณพ
พี่ขอพบ ศรีสวัสดิ์ เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัว ตัวพี่ เป็นภุมรา
เชยผกา โกสุม ปทุมทอง
     เจ้าเป็นถ้ำ อำไพ ขอให้พี่
เป็นราชสีห์ สมสู่ เป็นคู่สอง
จะติดตาม ทรามงวน นวลละออง
เป็นคู่ครอง พิศวาส ทุกชาติไป”

ตัวอย่างที่ ๓ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “เมื่อเคราะห์ร้าย กายเรา ก็เท่านี้
ไม่มีที่ พสุธา จะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บ เจ็บแสบ คับแคบใจ
เหมือนนกไร้ รังเร่ อยู่เอกา”

ตัวอย่างที่ ๔ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “เหมือนหนุ่มหนุ่ม ลุ่มหลง พะวงสวาท
เหลือร้ายกาจ กอดจูบ รักรูปเขา
ครั้นวอดวาย ตายไป เหม็นไม่เบา
เป็นหนอนหนอง พองเน่า เสียเปล่าดาย”

https://vallop-magmee.blogspot.com/2012/05/blog-post.html

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 1 เรื่องการอ่าน

บทที่ 1  เรื่องการอ่าน
ความสำคัญของการอ่าน
การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนโต และจนกระทั่งถึงวัยชรา การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความหวัง และมีความอยากรู้อยากเห็น อันเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคน การอ่านมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง คือ พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และมีความอยากรู้อยากเห็น การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ ก็ได้มาจากการอ่านนั่นเอง
ความหมายของการอ่าน
การอ่าน คือ กระบวนการที่ผู้อ่านรับรู้สารซึ่งเป็นความรู้ ความคิด ความรู้สึก และ ความคิดเห็นที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร การที่ผู้อ่านจะเข้าใจสารได้มากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถในการใช้ความคิด
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
1. อ่านเพื่อความรู้ ได้แก่ การอ่านจากหนังสือตำราทางวิชาการ สารคดีทางวิชาการ การวิจัยประเภทต่าง ๆ หรือการอ่านผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ควรอ่านอย่างหลากหลาย เพราะความรู้ในวิชาหนึ่ง อาจนำไปช่วยเสริมในอีกวิชาหนึ่งได้
2. อ่านเพื่อความบันเทิงได้แก่ การอ่านจากหนังสือประเภทสารคดีท่องเที่ยว นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล การ์ตูน บทประพันธ์ บทเพลง แม้จะเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง แต่ผู้อ่านจะได้ความรู้ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องด้วย
3. อ่านเพื่อทราบข่าวสารความคิด ได้แก่ การอ่านจากหนังสือประเภทบทความ บทวิจารณ์ ข่าว รายงานการประชุม ถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต้องเลือกอ่านให้หลากหลาย ไม่เจาะจงอ่านเฉพาะสื่อ ที่นำเสนอตรงกับความคิดของตน เพราะจะทำให้ได้มุมมอง ที่กว้างขึ้น ช่วยให้มีเหตุผลอื่น ๆ มาประกอบการวิจารณ์ วิเคราะห์ได้หลายมุมมองมากขึ้น
4. อ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะทางแต่ละครั้ง ได้แก่ การอ่านที่ไม่ได้เจาะจง แต่เป็นการอ่านในเรื่องที่ตนสนใจ หรืออยากรู้ เช่น การอ่านประกาศต่าง ๆ การอ่านโฆษณา แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ สลากยา ข่าวสังคม ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา การอ่านประเภทนี้มักใช้เวลาไม่นาน ส่วนใหญ่เป็นการอ่านเพื่อให้ได้ความรู้และนำไปใช้ หรือนำไปเป็นหัวข้อสนทนา เชื่อมโยงการอ่าน สู่การวิเคราะห์ และคิดวิเคราะห์ บางครั้งก็อ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ประโยชน์ของการอ่าน
ff_resize
  1. การอ่านเป็นกระบวนการทางจิตใจที่ทรงพลัง การอ่านต่างจากการนั่งอยู่หน้ากล่องสี่เหลี่ยมเบาปัญญา
    (ทีวี ) เพราะการอ่านทำให้คุณได้ใช้สมอง    ระหว่างที่อ่านหนังสือคุณจะถูกผลักดันให้ค้นหาเหตุผลให้
    กับสรรพสิ่งที่คุณไม่คุ้นเคย          ภายใต้กระบวนการนี้คุณจะต้องใช้กลุ่มเซลล์สีเทาในสมองในการใช้
    ความคิดซึ่งจะช่วยให้คุณเพิ่มพูนสติปัญญา
  2. การอ่านช่วยให้ได้ประโยชน์เช่นเดียวกันจากการอ่านหนังสือ ระหว่างอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเล่มที่มีความท้าทาย คุณจะพบว่าคุณมีโอกาสได้เรียนรู้กับศัพท์ใหม่ๆจำนวนมากซึ่งไม่อาจพบได้จากวิธีอื่น
  3. การอ่านช่วยให้การอ่านช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ ธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตต่างๆ
  4. การอ่านช่วยพัฒนาการสร้างสมาธิและรวมศูนย์ความคิด    ในการอ่านอย่างต่อเนื่องนานๆ   เราจำเป็นต้องพุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่เราอ่าน การอ่านหนังสือต่างจากการอ่านข้อความในนิตยสารหรือข้อความสั้นๆ   หรือจดหมายอิเล็กทรอนิคในอินเทอร์เน็ทซึ่งมักจะมีข้อมูลที่มีขนาดเล็ก แต่หนังสือจะบอกเรื่องราวแก่คุณ
  5. การอ่านเป็นการสร้างคุณค่าให้ตนเอง ยิ่งอ่านมากคุณก็ยิ่งมีความรู้ เมื่อมีความรู้มากขึ้น   คุณก็มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น   ความมั่นใจในตัวเองที่เพิ่มพูนขึ้น ก็สร้างคุณค่าของตนเองให้แก่คุณ นี่คือปฏิกิริยาลูกโซ่ เนื่องจากคุณอ่านหนังสือได้ดี ผู้คนก็จะคอยถามหาคำตอบจากคุณ     ความรู้สึกที่คุณมีต่อตนเองก็ย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน
  6. การอ่านช่วยให้ความจำดีขึ้น มีการศึกษาหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าคุณไม่ใช้ความจำที่มีอยู่ การอ่านทำให้เราต้องจดจำรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งข้อเท็จจริง และค่าตัวเลขต่างๆ และในการอ่านวรรณกรรม เราก็ต้องจดจำ     เค้าโครงเรื่อง  เนื้อหาสาระหลักตลอดจนตัวละครต่างๆ
  7. การอ่านช่วยให้คุณมีระเบียบวินัยมากขึ้น การจัดสรรเวลาสำหรับการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่เราทุกคนรู้ว่าเราควรทำ  แต่ใครล่ะจะจัดตารางเวลาเพื่อการอ่านไว้ทุกวัน น้อยมาก…นั่นคือเหตุผลว่าทำไมการเพิ่มการอ่านหนังสือเข้ามาในตารางกิจกรรมประจำวัน และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจึงสามารถเสริมสร้างระเบียบวินัยได้
  8. การอ่านช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การอ่านเรื่องราวของความหลากหลายแห่งชีวิต และการเข้าไปสัมผัสกับแนวคิดใหม่ๆ     และข้อมูลที่เพิ่มพูนขึ้นจะช่วยให้คุณได้พัฒนาสมองซีกที่ดูแลเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะไปช่วยจุดประกายแห่งการสร้างนวตกรรมขึ้นในกระบวนการใช้ความคิดของคุณ
  9. การอ่านช่วยให้คุณจะมีอะไรบางอย่างไว้พูดถึงเสมอ เคยบ้างไหมที่รู้สึกว่าตัวเองมีความรู้สึกอึดอัดที่ไม่รู้จะพูดคุยเรื่องอะไร เคยรู้สึกเกลียดตัวเองไหมที่ทำให้ตัวเองเสียหน้า คุณต้องการแก้ไขปัญหาแบบนี้ไหม ไม่ยากเลย เพียงคุณเริ่มอ่านหนังสือเท่านั้น การอ่านจะช่วยขยายอาณาบริเวณแห่งข้อมูลของคุณ คุณจะมีอะไรให้พูดถึงเสมอ เช่น คุณสามารถจะพูดคุยถึงโครงเรื่องในนวนิยายหลายเล่มที่คุณอ่าน คุณสามารถอภิปรายถึงสิ่งที่คุณกำลังเรียนรู้จากหนังสือด้านธุรกิจต่างๆที่คุณกำลังอ่านอยู่ ความเป็นไปได้ในการแบ่งปันเรื่องราวกลายเป็นเรื่องที่ไม่มีขีดจำกัดอีกต่อไป
  10. การอ่านช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย กฏข้อหนึ่งในหลายข้อที่ผมถือก็คือ ถ้าเริ่มรู้สึกเบื่อ ผมจะหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน สิ่งที่ผมค้นพบจากการจริงจังกับกฏข้อนี้ก็คือ ผมจะเกิดความสนใจในเรื่องราวของหนังสือแล้วหลุดจากความรู้สึกเบื่อหน่ายไปเลย ผมหมายถึงว่า ถ้าคุณเกิดรู้สึกเบื่อขึ้นมาบ้าง    http://aoeyey.wordqress.com/tag/ประโยชน์ของการอ่าน/  

บทที่ 2 การแต่งกลอน

บทที่ 2 การแต่งกลอน


กาพย์ยานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Books-aj.svg aj ashton 01.png
ฉันทลักษณ์ไทย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์
ร่าย
ร้อยกรองแบบใหม่
กลวิธีประพันธ์
กลบท
กลอักษร
กาพย์ยานี เป็นคำประพันธ์ไทยประเภทกาพย์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด มีทั้งแต่งสลับกับคำประพันธ์ประเภทอื่นและแต่งเพียงลำพัง กาพย์ยานีบทหนึ่งมีสองบาท บาทละ 11 คำ คนทั่วไปจึงี
หนึ่งบทมีสองบาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์
บังคับสัมผัสระหว่างวรรคที่ 1, 2 และ 3 ทิ้งสัมผัสวรรคที่ 4 สัมผัสระหว่างบทส่งจากท้ายบทแรกไปยังท้ายบาทแรกของบทต่อไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้
      ┌──↓─┐
  ○○○○●  ○○●○○●
    ┌─────────┘
○○○○● ○○○○○●┐
      ┌──↓─┐   │
  ○○○○●  ○○●○○●┘
    ┌─────────┘
○○○○● ○○○○○●┐
               │
๏ อย่าด่วนครรไลแล่นกรกรีดแหวนบรางควร
ทอดตาลิลาจวนสะดุดบาทจักพลาดพลำ
๏ อย่าเดินทัดมาลาเสยเกศาบควรทำ
จีบพกพลางขานคำสะกิดเพื่อนสำรวลพลาง
— กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
กวีอาจเพิ่มความไพเราะของกาพย์ยานีด้วยการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 ก็ได้ ดังตัวอย่าง
๏ ฟังแฮทชีพราหมณ์เขาเขียวงามทั้งแท่งทงัน
ไม่ไล่ช่อแชรงกันต่างต่างพรรณไขขจร
๏ มีนามแต่อาทิ์คนธมาทน์ศิขร
ที่ใดท่านภูธรแพศยันครราชา
— มหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน

พัฒนาการของกาพย์ยานี[แก้]

พย์ยานีในยุคแรก ๆ บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างบาท และสัมผัสระหว่างบทเท่านั้น สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับ[1] ดังตัวอย่างจากอนิรุทธ์คำฉันท์ และสมุทรโฆษคำฉันท์
๏ โดยทิศอุดรมีพระนครอันควรชม
สมญาชื่อเสียงพรหม-บุรีบุราณกาล
๏ อาจผจญบุรีอิน-ทรอันเทพยฤมาน
มหามเหาฬารจรรโลงธารษตรี
๏ ปราการกำแพงรัตน-อันรอบบุรีศรี
ทัดพายุพิถีคือกำแพง ณ จักรพาฬ
๏ โขลนทวารพิศาลสรรพประดับโครณทุกทวาร
หอห้างสรล้างกาญ-จนกุรุงซริน
— สมุทรโฆษคำฉันท์
๏ บัดนั้นสมเด็จหลานกฤษณเทพจักรี
รำลึกพนาลีสุขรมยกรีฑา
๏ เสด็จไปบังคมพระอัยกาธิเบศร์ลา
จักไปพนาทวาพนมพฤกษศีรขร
๏ เถื่อนถ้ำพนาลีคชสีหองค์อร
กวางทรายรมั่งมรสัตวสมสกอหลาย
๏ มสระสโรชากรบุษปเรียงราย
ขจคนธอบอายภุมรีภรมัว
— อนิรุทธ์คำฉันท์
สมัยอยุธยายุคกลางและยุคปลายได้เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคที่ 2 แล้ว ต่อมา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กวีผู้ชำนาญเชิงกาพย์ ทรงเพิ่มสัมผัสสระในคำที่ 2 - 3 วรรคแรก และคำที่ 3 - 4 ในวรรคหลัง อย่างเป็นระบบ ทำให้จังหวะอ่านรับกันเพิ่มความไพเราะมากขึ้น[1] และส่งอิทธิพลมาถึงกวีสมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] ดังตัวอย่าง
๏ ปลากรายว่ายเคียงคู่เคล้ากันอยู่ดูงามดี
แต่นางห่างเหินพี่เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร
๏ หางไก่ว่ายแหวกว่ายหางไก่คล้ายไม่มีหงอน
คิดอนงค์องค์เอวอรผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
๏ ปลาสร้อยลอยล่องชลว่ายเวียนวนปนกันไป
เหมือนสร้อยทรงทรามวัยไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย
๏ เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อเนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย
ใครต้องข้องจิตชายไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
— กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
สุนทรภู่ ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งที่ประยุกต์กาพย์ยานีของกรุงศรีอยุธยา โดยให้ความสำคัญกับสัมผัสเป็นหลัก มีการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 รวมทั้งให้ความสำคัญกับน้ำหนักคำและน้ำเสียงด้วย[2] ดังตัวอย่าง
๏ ขึ้นกกตกทุกข์ยากแสนลำบากจากเวียงไชย
มันเผือกเลือกเผาไฟกินผลไม้ได้เป็นแรง
๏ รอนรอนอ่อนอษฎงค์พระสุริยงเย็นยอแสง
ช่วงดังน้ำครั่งแดงแฝงเมฆเขาเงาเมรุธร
— กาพย์พระไชยสุริยา
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกินกาพย์ยานี โดยละทิ้งสัมผัสไปมากแต่มาเล่นน้ำหนักของคำและทรงใช้สัมผัสอักษรแทนสัมผัสระหลายครั้ง และน่าจะเป็นตัวตั้งสำหรับกาพย์ยุคหลังๆ ครั้งที่นายผี (อัศนี พลจันทร) สร้างสรรค์กาพย์ยานีรูปใหม่[2] ดังตัวอย่าง
๏ ดาวเดือนก็เลื่อนลับแสงทองระยับบพโยมหน
จวบจวนพระสุริยนจะเยี่ยมยอดยุคันธร
๏ สมเด็จพระหริวงศ์ภุชพงศ์ทิพากร
เสด็จลงสรงสาครกับพระลักษณ์อนุชา
— บทพากย์รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ในยุคกึ่งพุทธกาล นายผี หรือ อัศนี พลจันทร ได้สั่นสะเทือนวงการกาพย์ด้วยลีลาเฉพาะตัว โดยทิ้งสัมผัสในไปมาก หันมาใช้สัมผัสอักษรแทน เน้นคำโดดอันให้จังหวะสละสลวยจนคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์กลายๆ[2] ดังตัวอย่าง
๏ ในฟ้าบ่อมีน้ำในดินซ้ำมีแต่ทราย
น้ำตาที่ตกรายก็รีบซาบบ่อรอซึม
๏ แดดเปรี้ยงปานหัวแตกแผ่นดินแยกอยู่ทึมทึม
แผ่นอกที่ครางครึมขยับแยกอยู่ตาปี
— อีศาน
ขณะที่กวีในยุคปัจจุบันต่างก็แสวงหาลีลาเฉพาะตัว อย่างเช่น
๏ การเกิดย่อมเจ็บปวดต้องร้าวรวดและทรมา
ในสายฝนมีสายฟ้าในผาทึบมีถ้ำทอง
๏ มาเถิดมาทุกข์ยากมาบั่นบากกับเพื่อนพ้อง
อย่าหวังเลยรังรองจะเรืองไรในชีพนี้
— หนทางแห่งหอยทาก ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๏ ด้วยธรรมนั้นเทียมเท่าแต่ใครเล่าที่ครอบงำ
เอาเปรียบและเหยียบย่ำมวลชีวิตจนผิดไป
๏ ในน้ำทุกหยดน้ำหรือใช่น้ำเฉพาะใคร
ลมแดดหรือดินใดล้วนสมบัติอันเป็นกลาง
— เพลงไทยของคนทุกข์ ของ ไพวรินทร์ ขาวงาม
๏ พฤกษ์ไพรไสวพริ้ววะไหวหวิวกับวันวาร
เสียงขับส่งศัพท์ขานคือสัตว์ส่ำซึ่งร่ำเสียง
๏ เริงเร้าเหนือเงาร่มสำราญรมย์แลรายเรียง
ร้องขานผสานเคียงผสมคู่สมสู่คา   
https://th.wikipedia.org/wiki/กาพย์ยานี