วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 3 กลอนแปด


 บทที่ 3 กลอนแปด




กลอนแปด, ตัวอย่างกลอนแปด

     กลอนแปดแตกต่างจากกลอนแปดสุภาพ คลิกดู เสียงวรรณยุกต์ของกลอนแปดสุภาพ
     สำหรับเว็บบล็อก "กลอนแปด" นี้จะประกอบไปด้วยกลอนแปดสุภาพ หัวข้อใหญ่ ดังต่อไปนี้
๑. กลอนแปดสุภาพ กับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมตัวอย่างกลอนแปด (หน้าแรกนี้)  
๒. กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรักความเข้าใจใน ๓ สถาบันหลักของชาติไทย คือ
    ๒.๑ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันชาติ ด้านมนุษยศาสตร์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๑.๗ วันครู
          ๒.๑.๑๒ ๕ อ.
          ๒.๑.๑๓ รถติด
          ๒.๑.๑๖ รัก
     ๒.๒ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันศาสนา มีกลอนธรรมะ ดังต่อไปนี้
     ๒.๓ กลอนแปดสุภาพ ส่งเสริมความรู้และความรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้
          ๒.๓.๔ กลอนพ่อครูไทยในหลวงของปวงชน

     กลอนแปดนับเป็น "ศิลปะภาษาไทย" ผู้เขียน (นายวัลลภ มากมี ตำแหน่งครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ เป็นครูผู้ควบคุมและเป็นครูที่ปรึกษาหลักของผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมได้เล็งเห็นว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่แต่งกลอนกันน้อยลง มีความประสงค์ที่จะช่วยอนุรักษ์ศิลปะภาษาไทย จึงได้ประพันธ์เป็นกลอนแปด (ต่อมาภายหลังได้ปรับแก้ไขเสียใหม่ให้เป็นกลอนแปดสุภาพ) ที่อธิบายประกอบผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม ผู้เขียนซึ่งเป็นครูช่างยนต์ได้เคยเรียนการแต่งกลอนแปดในวิชาภาษาไทยมา จึงนำความรู้นั้นมาประยุกต์มาหาแนวทางที่จะทำให้งานทางช่างซึ่งมีลักษณะแข็งกระด้างให้ผสมผสานด้วยความอ่อนนุ่มลงไป เกิดเป็นกลอนแปดกับการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม หรือกลอนแปดสุภาพกับสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม  
     สำหรับการแต่งกลอนแปดนั้นมีวิธีการตามตัวอย่างที่ ๑ โดยมีผังกลอนแปดดังแสดงในภาพด้านล่างนี้ ซึ่งนอกจากกลอนแปดจะต้องมีการสัมผัสนอกแล้วยังควรเพิ่มความไพเราะให้กับบทกลอนด้วยการมีสัมผัสในดังแสดงในตัวอย่างที่ ๒ - ๔ การสัมผัสในกลอนแปดสุภาพของท่านครูสุนทรโวหาร (ภู่) หรือท่านสุนทรภู่ กวีเอกของโลก
     นอกจากนี้แล้วยังมีตัวอย่างกลอนแปดสุภาพของท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ดังแสดงในตัวอย่างที่ ๕ ซึ่งท่านเป็นนักเขียนรางวัลซีไรต์ และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ ซึ่งผู้เขียนได้มีความเคารพนับถือและศรัทธาในผลงาน ความสามารถ และอุดมการณ์ของท่านเป็นอย่างมาก

     ผังกลอนแปด สัมผัสนอกที่เป็นมาตรฐาน (แบบไม่อนุโลมจุดสัมผัส)

ตัวอย่างที่ ๑ การสัมผัสนอก กลอนแปดสุภาพ เช่น
     “กลอนสุภาพ แปดคำ ประจำบ่อน  (วรรคสดับ)
อ่านสามตอน ทุกวรรค ประจักษ์แถลง  (วรรครับ)
ตอนต้นสาม ตอนสอง ลองแสดง  (วรรครอง)
ตอนสามแจ้ง สามคำ ครบจำนวน  (วรรคส่ง)
     ได้กำหนด บทกลอน ตอนสัมผัส  (วรรคสดับ)
ให้ฟาดฟัด ชัดความ ตามกระสวน (วรรครับ)
วางจังหวะ กะทำนอง ต้องกระบวน (วรรครอง) 
จึงจะชวน ฟังเสนาะ เพราะจับใจ" (วรรคส่ง)

ประพันธ์โดยท่านรองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) 

ตัวอย่างที่ ๒ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “ถึงม้วยดิน สิ้นฟ้า หาสมุทร
ไม่สิ้นสุด ความรัก สมัครสมาน
แม้นเกิดใน ใต้หล้า สุธาธาร
ขอพบพาน พิศวาส ไม่คลาดคลา
     แม้เนื้อเย็น เป็นห้วง มหรรณพ
พี่ขอพบ ศรีสวัสดิ์ เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัว ตัวพี่ เป็นภุมรา
เชยผกา โกสุม ปทุมทอง
     เจ้าเป็นถ้ำ อำไพ ขอให้พี่
เป็นราชสีห์ สมสู่ เป็นคู่สอง
จะติดตาม ทรามงวน นวลละออง
เป็นคู่ครอง พิศวาส ทุกชาติไป”

ตัวอย่างที่ ๓ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “เมื่อเคราะห์ร้าย กายเรา ก็เท่านี้
ไม่มีที่ พสุธา จะอาศัย
ล้วนหนามเหน็บ เจ็บแสบ คับแคบใจ
เหมือนนกไร้ รังเร่ อยู่เอกา”

ตัวอย่างที่ ๔ การสัมผัสใน กลอนแปดสุภาพ ของท่านสุนทรภู่ เช่น
     “เหมือนหนุ่มหนุ่ม ลุ่มหลง พะวงสวาท
เหลือร้ายกาจ กอดจูบ รักรูปเขา
ครั้นวอดวาย ตายไป เหม็นไม่เบา
เป็นหนอนหนอง พองเน่า เสียเปล่าดาย”

https://vallop-magmee.blogspot.com/2012/05/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น